วิสัยทัศน์และนโยบาย

วิสัยทัศน์การพัฒนา
พัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
นี่คือวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี
การพัฒนาเศรษฐกิจ
-
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งจะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกันยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ หรืออีกนัยหนึ่ง เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ
-
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจะให้ความสำคัญต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นการพัฒนา ที่เน้นกระบวนการมากกว่ารูปแบบ และต้องการความต่อเนื่องในการปฏิบัติรวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่เริ่มจาก ฐานทรัพยากรในท้องถิ่น (ทุนในชุมชน) ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
คุณภาพชีวิตที่ดี
-
การยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชาชน ในเขตตำบลคำนาดีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ด้านที่อยู่อาศัย ต้องมีความสะอาดปลอดภัย มีสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนดี ปลอดอบายมุข ด้านสุขภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนรณรงค์ให้ประชาชนหันมาออกกาลังกาย กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รณรงค์ให้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน ยกระดับรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมกลุ่มอาชีพเสริม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านในชุมชน ตลอดจนมีรายได้เพียงพอในการส่งเสริมบุตรหลานให้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ส่งเสริมการฝึกอบรม
-
การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุก ๆ ด้าน โดยสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการนำเสนอปัญหาความต้องการ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านในชุมชนโดยประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตลอดจนการเข้ามาตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-
การส่งเสริมอาชีพและยกระดับรายได้ให้แก่ประชาชน ส่งเสริมการทำอาชีพผสมผสานเพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี การสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพในตำบลให้มีความเข้มแข็งตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพให้มีความสามารถแข่งขันกับตลาดได้
-
การส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการและสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน ร่วมส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการและการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้สืบทอดกันมาเพื่อให้บุตรหลานได้สืบสานต่อไป
-
การลดภาระการขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคและบริโภคเพื่อการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในฤดูแล้ง ให้คลอบคลุมพื้นที่การเกษตรให้ได้มากที่สุด และประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่นเข้ามาดำเนินการ รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมความต้องการของประชาชน เช่น ถนนที่ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้สะดวก น้ำประปาชุมชนที่สะอาด ไฟฟ้าบนท้องถนนที่สว่าง เป็นต้น
-
การส่งเสริมพัฒนาฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะในครัวเรือน และสามารถนำขยะมารีไซเคิลมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้
มีการศึกษา
-
จัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-
การให้บริการ การอบรมเลี้ยงดู การจัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมเลี้ยงดูจัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนา ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัยตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน และพัฒนาให้เป็นไปตามวัยแต่ละช่วงอายุ สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ให้เด็กเล็กพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ตามระยะเวลาเรียนรู้ในรอบปีการศึกษา
-
การส่งเสริมและสนับสนุนเด็กเล็กและเด็กนักเรียน ได้แก่ อาหารกลางวัน อาหารว่าง เครื่องนอน อาหารเสริม (นม) วัสดุ สื่อ อุปกรณ์การศึกษา และวัสดุครุภัณฑ์ การตรวจสุขภาพเด็กเล็กประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บริการอื่น ๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อม
-
การส่งเสริมให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน ให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
-
การสร้างชุมชนให้น่าอยู่ นอกจากจะหมายถึง การสร้างชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกประชาชน มีภาวะมลพิษที่น้อยที่สุดแล้ว ยังรวมถึงการที่ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่มั่นคง แข็งแรง การมีงานทําและรายได้ที่เพียงพอต่อการครองชีพ สภาพสังคมที่สงบสุข ด้วยการทำนุบำรุงศาสนสถานอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน การส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสาธารณะ จิตอาสาพัฒนาชุมชน การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นอกจากนี้ ยังต้องมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มั่นคง โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ ๆ โดยการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมติดตามความสําเร็จภายใต้การสนับสนุนร่วมมือ ร่วมใจ อย่างจริงจัง และต่อเนื่องเพื่อรักษาความเป็นชุมชนน่าอยู่ให้มีความยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป
เป้าหมายการพัฒนา
-
การคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
-
ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
-
ประชาชนมีอาชีพหลักที่มั่นคง และเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง
-
ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความสามัคคีและมีส่วนร่วมที่ดีในชุมชน
-
ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น
-
พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการองค์กรให้น่าอยู่
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี โดยการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน(Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (Threat) เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดกลยุทธ์การทำงาน นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา จากการวิเคราะห์ SWOT ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน ดังนี้
-
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
-
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
-
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
-
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ