กลุ่มชุมชนและสินค้าชุมชน

สินค้าชุมชน


ชื่อผลิตภัณฑ์ เสื่อกก
ชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ นางพวง ลาไธสงค์
สถานที่ตั้ง 59 หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเรือใหญ่ ตำบลคำนาดี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
โทรศัพท์
สถานที่ใกล้เคียง ศาลาประชาคมบ้านนาเจริญ-ห้วยเรือใหญ่
คำอธิบายผลิตภัณฑ์
การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ
เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต
การใช้ประโยชน์ ใช้สำหรับปูนั่ง หรือนอน


ชื่อผลิตภัณฑ์ กระติ๊บข้าวจากต้นคล้า
ชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ นางหนูเพียร แสงโทโพ
สถานที่ตั้ง 98 หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเรือใหญ่ ตำบลคำนาดี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
โทรศัพท์
สถานที่ใกล้เคียง วัดไชยมงคลสามัคคี บ้านนาเจริญ
คำอธิบายผลิตภัณฑ์
การจักสานกระติบข้าวจากคล้า จะมีคุณภาพดีกว่าไม้ไผ่ธรรมดา เพราะไม้ไผ่เกิดเชื้อราง่าย แต่คล้าทนทาน และเมื่อถูกความชื้นจะไม่เป็นเชื้อราดำ เก็บความร้อนได้นานเมื่อบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง และข้าวไม่ชื้นแฉะ
การใช้ประโยชน์ ใช้ใส่หรือบรรจุข้าวเหนียวสำหรับรับประทาน


ชื่อผลิตภัณฑ์ การจักสานจากไม้ไผ่
ชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ นายคำวงศ์ ศรีชุม
สถานที่ตั้ง 70 หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเรือใหญ่ ตำบลคำนาดี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
โทรศัพท์
สถานที่ใกล้เคียง ศาลาประชาคมบ้านนาเจริญ-ห้วยเรือใหญ่
คำอธิบายผลิตภัณฑ์
เครื่องจักสานไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่พบได้ในแหล่งชนบทของประเทศไทยทั่วทุกภาค โดยเฉพาะตำบลำคนาดี ซึ่งจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของคนในชนบท แบ่งได้เป็นเครื่องใช้ใน ครัวเรือน กระบุง ตะแกรง คานหาบ กระด้ง เครื่องใช้ที่รองรับพืชผลทางการเกษตร ตะกร้า เข่งใช้บรรจุผักผลไม้ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ ลอบไซ เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจ้าวันแทบทุกอย่าง
งานจักสานไม้ไผ่ คือ งานศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะจะต้องสร้างงานที่ออกมาจากจิตใจที่รักในงาน สร้างสรรค์ จรรโลง เอกลักษณ์และวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีความพยายาม ความฉลาดหลักแหลม ประยุกต์ พัฒนารูปแบบให้ดีขึ้น โดยไม่ทิ้งความรู้และภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่น แสดงถึงวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นได้
การใช้ประโยชน์ ใช้ใส่หรือบรรจุข้าวเหนียวสำหรับรับประทาน