top of page
dvbdb.jpg

YOUR BLOG

YOUR VOICE

YOUR IDEA

กระทู้ในฟอรัม

รัตนพล ยางขันธ์
17 ก.ค. 2563
In แบ่งปันความรู้
1. ถาม บุคคลผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง? ตอบ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งจะสามารถลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้นั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการขาดคุณสมบัติหรือไม่มีคุณสมบัติ ในการเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกเพื่อเลือกตั้ง ตัวแทนได้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้ 1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยแปลงสัญชาติต้องได้ สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง 3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 1 ปีนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลนั้นที่กฎหมายห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ได้กำ หนดว่าบุคคลที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้แก่ 1. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 2. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช 3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย 4. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดหรือไม่ 2. ถาม บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง? ตอบ คุณสมบัติผู้สมัครท้องถิ่น และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครท้องถิ่น มาตรา 49 และ 50 พรบ. เลือกตั้งท้องถิ่น พ.ศ. 2562 และ พรบ.จัดตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำ หนดไว้ดังนี้ คุณสมบัติที่ต้องมี 1. สัญชาติไทยโดยการเกิด 2. อายุ 2.1 สมาชิกสภาท้องถิ่นอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง 2.2 ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า35 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง 3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัคร รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง 4. คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายจัดตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำหนด ได้แก่ เรื่องวุฒิการศึกษาของผู้สมัครผู้บริหารท้องถิ่น ดังนี้ -ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายก เมืองพัทยาต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า - ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ต้องสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภา อบจ. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา - ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีต้องสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหาร ท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา - ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายยก อบต. ต้องสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา ดังนี้ บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 1. ติดยาเสพติดให้โทษ 2. เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต 3. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ 4. ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนี้ 4.1 เป็น ภิกษุสมเณร นักพรต หรือนักบวช 4.2 อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง 4.3 เป็นผู้วิกลจริตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 5.อยู่ระหว่างถูกระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราว(ใบส้ม) หรือถูกเพิก ถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (ใบดำ ) 6. ถูกจำคุกหรือคุมขังโดยหมายของศาล 7. เคยถูกจำคุกและพ้นโทษมาแล้วยังไม่ถึง5 ปีนับถึงวันเลือกตั้งยกเว้น ความผิดประมาทหรือลหุโทษ 8. เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำ ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ 9. เคยถูกศาลมีคำ พิพากษา หรือคำสั่งอันถึงที่สุดให้ยึดทรัพย์เป็นของแผ่น ดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเคยต้องคำ พิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุกตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 10. เคยต้องคำ พิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำผิด ดังนี้ 10.1ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในราชการ หรือตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรมหรือกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วย งานของรัฐ 10.2 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำ โดยทุจริตตามประมวล กฎหมาย 10.3 ความผิดตามกฎหมายว่าดด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการ ฉ้อโกงประชาชน 10.4 กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิตนำ เข้า ส่งออกหรือผู้ค้า 10.5 กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือเจ้าสำนัก 10.6 กฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์ 10.7 กฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน 11. เคยต้องคำ พิพากษาอันถึงที่สุดว่าทุจริตการเลือกตั้ง 12. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 13. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 14. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ 15. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ 16. อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 17. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกา หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำ รงตำแหน่งทางการเมือง มีคำ พิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริต ต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำ นาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 18. ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดตาม พรบ.การเลือกตั้งท้องถิ่น โดยพ้นโทษยังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง 19. เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมาย มายังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง 20. อยู่ระหว่างถูกจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 21. เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และจนมายังไม่ถึง 5 ปีนับแต่วันที่ พ้นจากการถูกเพิถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง 22. เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภา ท้องถิ่นหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน หรือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นอื่น 23. เคยพ้นจากตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเหตุ มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำ หรือจะกระทำ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่นโดยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่างตอบแทน หรือเอื้อประโยชน์ส่วนตน ระหว่างกันและยังไม่พ้น 5 ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง 24. เคยถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งใดๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ หรือมติคณะ รัฐมนตรีอันเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงและยังไม่พ้น 5 ปีนับแต่วันพ้นจาก ตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง 25. เคยถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทอดทิ้ง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และอำ นาจ หรือปฏิบัติไม่ชอบด้วย หน้าที่และอำ นาจ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพ ของประชาชน หรือจะนำ มาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ศรีตำแหน่ง หรือแก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแก่ราชการและยังไม่พ้น 5 ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จนถึงวันเลือกตั้ง 26. ลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด 3. ถาม จำนวนสมาชิกที่มีในเขตเลือกตั้ง และการแบ่งเขตเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น? ตอบ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง (เกณฑ์จำนวนราษฎร 150,000 คน ต่อ สมาชิกสภา กทม. 1 คน เศษราษฎรถ้าเกิน 75,000 คน ให้มีสมาชิกสภา กทม.เพิ่มขึ้นอีก 1 คน) (ระเบียบฯ ข้อ 12) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง (จำนวนสมาชิก อบจ.ที่พึงมีให้ใช้เกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วย อบจ. กำหนด ดังนี้ 1) ราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 24 คน 2) ราษฎรเกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 30 คน 3) ราษฎรเกิน 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 36 คน 4) ราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิก อบจ. ได้ 42 คน 5) ราษฎรเกิน 2,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิก อบจ. ได้ 48 คน สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล เขตเลือกตั้งละ 6 คน สมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเมือง เขตเลือกตั้งละ 6 คน สมาชิกสภาเทศบาลนคร ให้แบ่งเทศบาลเป็นสี่เขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลนคร เขตเลือกตั้งละ 6 คน สมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเมืองพัทยา เขตเลือกตั้งละ 6 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์ พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ดังนี้     1) กรณี อบต.ใด มี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต. 6 คน     2) กรณี อบต.ใด มี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 3 คน     3) กรณี อบต.ใด มี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 2 คน     4) กรณี อบต. ใด มี 4 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 1 คน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวนราษฎรมากที่สุด 2 เขตเลือกตั้งแรก ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกสภา อบต.เพิ่มขึ้นอีกเขตเลือกตั้งละ 1 คน     5) กรณี อบต.ใด มี 5 เขตเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภา อบต.เขตเลือกตั้ง ละ 1 คน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวนราษฎรมากที่สุดให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกสภา อบต.เพิ่มขึ้นอีก 1 คน กรณี หมู่บ้านใด มีจำนวนราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน
0
9
13k
รัตนพล ยางขันธ์

รัตนพล ยางขันธ์

ขั้นตอนดำเนินการอื่นๆ
bottom of page