กฎหมายมรดก ตอนที่ 5 ว่าด้วยเรื่องการแบ่งทรัพย์มรดก
•การแบ่งมรดกโดยมีพินัยกรรม
กรณีมีพินัยกรรม พินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่แสดงเจตนาของเจ้ามรดกว่าใครจะรับมรดกทรัพย์สินและส่วนไหนที่มีใครจะได้รับหลังจากเจ้ามรดกตาย หากเจ้ามรดกไม่ได้ร่างพินัยกรรมไว้ล่วงหน้าว่าใครจะได้อะไรนั้น มาตรา 1599 ได้กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าทรัพย์สินคุณจะมีมากหรือน้อยเท่าใด เจ้ามรดกคงต้องการให้แน่ใจว่าจะจัดสรรไปยังบุคคลที่สมควรจะได้รับหลังจากที่ตาย ประเทศไทยก็คล้ายๆกับหลายประเทศ (มาตรา 1599 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
• เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดอยู่แก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแห่งมาตรา 1599 •ในประเทศไทยถ้าบุคคลใดตายลงโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินย่อมตกไปแก่ทายาทโดยผลของกฎหมาย (ทายาทตามกฎหมาย) (มาตรา 1603 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) • กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม •ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม“ ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม" ตามมาตรา 1603 ดังนั้นหากมีพินัยกรรมต้องแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมระบุก่อนถ้ามีทรัพย์สินอื่นนอกเหนือที่ระบุไว้หรือไม่ได้ทำพินัยกรรมก็สามารถแบ่งได้ดังนี้คือแบ่ง • ทายาทโดยธรรมๆมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ1.สืบสันดาน 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา ตามมาตรา 1629 •คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่งานนิติการ สำนักงานปลัด อบต.คำนาดี แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ