ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การกระทำใด ๆ ของภาครัฐทั้งในระดับบุคคลและ องค์กรที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ คาดเดาได้ และเข้าใจได้ ครอบคลุมถึงทุกการกระทำที่เป็นผลจากการตัดสินใจของผู้บริหาร การดำเนินงาน ทางธุรกิจและงานสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การมีระบบงานและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน (ซึ่งจะดูได้จาก กฎระเบียบ ปรือประกาศ) การมีหลักเกณฑ์ประเมินหรือการให้คุณให้โทษที่ ชัดเจน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง อย่างตรงไปตรงมา ความโปร่งใสจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบความถูกต้อง และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต รวมทั้งนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันทั้งระหว่างผู้ปฏิบัติร่วมกันในองค์กรเดียวกัน ระหว่างประชาชนต่อรัฐไปจนถึงระว่างคนในชาติด้วยกัน ดังนั้น ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนควร ปรับปรุงกลไกการทำงานให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ที่เข้ใจง่าย เพื่อประชาชนจะได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ โดยสะดวก และช่วยตรวจสอบความ ถูกต้องในการทำงานได
ความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
การเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์
(1) มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การประชุมสภาท้องถิ่น
(2) มีการเปิดเผยข้อมูลแผนพัฒนาท้องถิ่น
(3) มีการเปิดเผยข้อมูลการ จัดหารายได้ และการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น
(4) มีการเปิดเผยข้อบัญญัติ
(5) มีการเปิดเผยข้อมูลการ จัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การประเมินผลและการตรวจสอบ
(1) มีการแต่งตั้งตัวแทนประชาคมเป็นคณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในชุดต่าง ๆ
(2) มีการจัดตั้งระบบควบคุมภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชน กลุ่มองค์กรชุมชนติดตามประเมินผลการ ดำเนินกิจกรรม/โครงการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารกิจการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(1) มีการเปิดช่องทางให้ประชาชนแจ้งข่าวการทุจริต
(2)มีการประกาศเจตนารมณ์ ไม่คอร์รับชัน
สภาท้องถิ่น
(1) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าฟังการประชุมสภาท้องถิ่น เช่น มีการจัดเตรียมสถานที่ส าหรับ ประชาชนนั่งฟังการประชุมสภาท้องถิ่น
(2) มีการเผยแพร่รายงานการ ประชุมสภาท้องถิ่น